วิธีการทำยาดำ ยาดำเป็นยาที่แข็งเป็นก้อน เเละมีสีแดงน้ำตาลจนถึงดำ เปราะ ผิวมัน ทึบแสง รสขมเหม็นเบื่อ ชวนคลื่นไส้อาเจียน กลิ่นฉุน ตัดใบว่านหางจระเข้ที่โคนใบให้เป็นรูปสามเหลี่ยม (ต้องเป็นพันธุ์เฉพาะ ซึ่งจะมีขนาดใบใหญ่ และอวบน้ำมาก จะให้น้ำยางสีเหลืองมาก) ต้นที่เหมาะจะตัด ควรมีอายุ 9 เดือนขึ้นไป จะให้น้ำยางมากไปจนถึงปีที่ 3 และจะให้ไปเรื่อยๆ จนถึงปีที่ 10 ตัดใบว่านหางจระเข้ตรงโคนใบ และปล่อยให้น้ำยางไหลลงในภาชนะ นำไปเคี่ยวให้ข้น เทลงในพิมพ์ ถ้าทิ้งไว้จะแข็งเป็นก้อน เเละยาดำได้จากการตัดใบว่านหางจระเข้บริเวณส่วนโคนใบที่อยู่ใกล้กับผิวดิน เเละจะมีน้ำยางสีเหลืองที่อยู่ระหว่างผิวนอกของใบกับวุ้น
องค์ประกอบทางเคมีของยาดำ สารที่เป็นองค์ประกอบใน ยาดำ (น้ำยางสีเหลืองที่เคี่ยวน้ำออกหมดจนเป็นก้อนสีดำ) คือสารกลุ่มแอนทราควิโนน เช่น aloin, barbaloin (aloe-emodin), chrysophanic acid ออกฤทธิ์เป็นยาระบาย ยาถ่าย
สรรพคุณของยาดำ[/url] [/b]
ยาดำที่ใช้ในตำรับยาไทยส่วนใหญ่เป็นยาดำที่นำเข้ามาจากแอฟริกา ตำรา ประโยชน์ยาโบราณว่า ยาดำมีรสเบื่อและเหม็นขม คุณสมบัติถ่ายลมเบื้องสูงให้ลงต่ำ กัดฟอกเสมหะและโลหิต ทำลายพรรดึก เป็นยาถ่าย ยาระบาย แก้โรคท้องผูก โดยกระตุ้นลำไส้และทางเดินอาหารให้บีบตัว ใช้เป็นยาแทรกในยาระบายหลายตำรับ จนกระทั่งมีคำพังเพยว่า “แทรกเป็นยาดำ” หมายถึงแทรกหรือปนอยู่ทั่วไป เป็นยา ถ่ายพิษไข้ ถ่ายพยาธิตัวตืด ไส้เดือน ขับน้ำดี มีฤทธิ์ไซร้ท้อง ฝนกับเหล้าขาวทาหัวฝี ทาแก้ฟกบวม
รูปแบบ / ขนาดวิธีใช้ยาดำ ใช้เป็นยาถ่าย ยาดำขนาด 0.25 กรัม เท่ากับ 250 มิลลิกรัม (ขนาด อุปโภคเท่า 1 เมล็ดถั่วเขียว) ยานี้ทำให้เกิดอาการไซ้ท้องได้ เพราะยาจะบีบลำไส้อย่างมาก
ช่วย เยียวยาอาการท้องผูก ตักมาใช้ประมาณช้อนชา เติมน้ำเดือด 1 ถ้วย แล้วคนจนละลาย โดยผู้ใหญ่ ทานครั้งละ 2 ช้อนชาก่อนนอน แต่ถ้าเป็นเด็กให้ กินครั้งละ 1 ช้อนชาก่อนนอน
ฤทธิ์ทางเภสัชของยาดำ ในยาดำมีสารกลุ่ม แอนทราควิโนน ได้แก่ อโลอิน (Aloin A และ B) มี ชนิดเป็นยางสีเหลืองที่อยู่ส่วนของเปลือกว่านหางจระเข้ ออกฤทธิ์สาคัญ คือ กระตุ้นการขับถ่าย ใช้สำหรับเป็นยาระบาย โดยมีกลไกที่สำคัญ คือ เมื่อสารนี้อยู่บริเวณลำไส้จะถูกแบคทีเรียย่อยสลายกลายเป็นแอนทรานอล (Anthranol) สารนี้ จะออกฤทธิ์ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อลำไส้เล็ก และลำไส้ใหญ่จนเกิดการหลั่งน้ำบริเวณลำไส้มากกว่าปกติ
การศึกษาทางพิษวิทยาของยาดำ ไม่มีข้อมูลพิษวิทยาในยาดำข้อแนะนำ / ข้อควรระวัง ห้าม กินมากเกินไป จะทำให้ท้องเสีย และปวดท้องอย่างรุนแรง เพราะลำไส้บิดเกร็งตัว อ่อนเพลีย ไตอักเสบ และมีอาการแทรกซ้อนอื่นๆได้ หญิงมีครรภ์ห้าม บริโภคเพราะทำให้แท้งได้ ห้ามใช้กับหญิงที่กำลังมีประจำเดือน และคนที่เป็นริดสีดวงทวาร
Tags : กระชายดำ,กวาวเครือแดง