กวาวเครือขาวจากผลการวิจัยค้นพบในหนูเพศเมียที่กินกวาวเครือขาวพบว่า มีผลยับยั้งการให้นมของหนูที่กำลังให้นม โดยที่ฤทธิ์ของ
กวาวเครือขาวจะไปยังยั้งการเจริญของต่อมน้ำนม และการสร้างน้ำนม มีผลต่อระบบการตั้งครรภ์ เมื่อให้หนูกินในช่วงตั้งท้องวันที่ 1 – 10 ติดต่อกัน หรือให้กินในช่วงที่มีการเคลื่อนย้ายของตัวอ่อน โดยทำให้เกิดการแท้ง และเมื่อให้ในหนูที่ตัดรังไข่ออก กินกวาวเครือขาวพบว่าน้ำหนักของมดลูกและปริมาณของเหลวในมดลูกเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับที่พบในหนูที่ได้รับ ethinyl estradiol และมีรายงานว่ากวาวเครือขาวมีฤทธิ์คุมกำเนิดที่ดีในหนูขาวเมื่อให้ในขนาด 1 กรัม/ตัว/สัปดาห์ ส่วนผลของ
กวาวเครือขาวต่อหนูเพศผู้พบว่าสัตว์มีพฤติกรรมการสืบพันธุ์ลดลง และมีขนาด และน้ำหนักอัณฑะ epididymis ต่อมลูกหมาก และ seminal vesicles ลดลง รวมทั้งมีจำนวนตัวอสุจิ และเปอร์เซ็นต์การเคลื่อนไหวของตัวอสุจิลดลง
กวาวเครือขาวจากการวิจัยค้นพบทางคลินิกในระยะที่2ในอาสาสมัครกลุ่มก่อนและหลังวัยไม่มีประจำเดือน หรือคนที่พบอาการพร่องฮอร์โมนเอสโตรเจน จำนวน 37 ราย ใช้เวลา 6 เดือน พบว่าคะแนนของอาการหมดระดูลดลงจาก 35.6 เป็น 15.1 และ 32.6 เป็น 13.69 ในกลุ่มที่ได้รับ 50 มก.ต่อวัน และ 100 มก.ต่อวัน ตามลำดับ แต่เจออาการข้างเคียง คือ อาการคัดตึงเต้านมประมาณร้อยละ 35 และอาการเลือดออกกระปริดกระปรอยประมาณร้อยละ 16.2 แต่หญิงทั่วไปยังสามารถกินได้ 100 มิลลิกรัม/วันไม่ควนรับประทานเกิน หลวงอนุสารสุนทร , ตำรายาหัวกวาวเครือขาว . กรมการพิเศษเชียงใหม่ โรงพิมพ์ อุปะติพงษ์ พฤษภาคม 2474
Tags : กวาวเครือขาว,กวาวเครือขาว,กวาวเครือขาว