สรรพคุณของกำลังเสือโคร่ง[/url] [/b]
มีกลิ่นหอมคล้ายการบูร ใช้ต้มน้ำเป็นยาบำรุงธาตุ บำรุงกำลัง เจริญอาหาร ขับลมในลำไส้ บำรุงเส้นเอ็นให้แข็งแรง ลดปวดเมื่อยตามร่างกาย เป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยชำระล้างไตให้สะอาด บำรุงกองธาตุให้เป็นปกติ แก้อาการท้องร่วง ใช้บำบัดอาการผู้ป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับมดลูกของผู้หญิงไม่สมบูรณ์ มดลูกชอกช้ำอักเสบเนื่องจาการกระทบกระเทือน แท้งบุตร มดลูกไม่แข็งแรงให้หายเป็นปกติ ช่วยบำรุงเลือด ช่วยรักษาโรคริดสีดวงทวาร เปลือกต้นมีกลิ่นหอม ใช้ดมแก้อาการหน้ามืดตาลายได้
รูปแบบ/ขนาดวิธีใช้กำลังเสือโคร่ง ลำต้น เข้าสูตรยา บำรุงกำลัง (ลั๊วะ)
- ราก ต้มน้ำดื่มร่วมกับรากโด่ไม่รู้ล้ม (เกดสะดุด) เป็นยาแก้อาการปวดเมื่อย, เปลือกต้น ดองเหล้าดื่มเป็นยาบำรุงกำลัง(ลั้วะ)
- เปลือกต้น มีกลิ่นหอม ดมแก้อาการหน้ามืดตาลาย(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)
- เปลือกต้น นำไปตากแห้งผสมกับ ลำต้นฮ่อสะพายควาย ม้า กระทืบโรง จะค่าน ตานเหลือง มะตันขอ ข้าวหลามดง หัว ยาข้าวเย็น แก่นฝาง ไม้มะดูก และโด่ไม่รู้ล้ม ต้มน้ำกินเป็นยาบำรุงกำลัง บรรเทาอาการปวดเมื่อย(คนเมือง)
- เปลือกต้น ถากออกเป็นแผ่นแล้วนำมาเผาไฟ นำผงถ่านที่ได้มาทาบริเวณฟันผุ แก้อาการปวดฟัน(ลั้วะ)
- เปลือกต้น ถากออกจากลำต้น พอประมาณตามความต้องการ ใส่ภาชนะหรือกาน้ำ ต้มน้ำให้เดือนเคี่ยวไฟอ่อนๆ น้ำสมุนไพรจะเป็นสีแดง (ถ้าปรุงรสให้หอมหวานใช้ชะเอมพอสมควรกับน้ำตาลกรวด)ให้กินขณะน้ำสมุนไพรอุ่นๆ จะมีคุณภาพดียิ่งขึ้น
- ถ้าใช้ดองกับสุรา สีจะแดงเข้ม (ถ้าจะปรุงรสและกลิ่นให้เติมน้ำผึ้ง-โสมตังกุย) ประโยชน์จะแรงขึ้นทวีคูณ ต้นดองกับสุราได้ถึง 3-4 ครั้ง จนกว่าจะหมดสีของสมุนไพร
- เปลือกต้น ทำให้แห้ง แล้วใช้ดมทำให้เส้นเอ็นแข็งแรง
ฤทธิ์ทางเภสัช ไม่มีข้อมูลการค้นพบทางเภสัชวิทยาการศึกษาทางพิษวิทยาของกำลังเสือโคร่ง ไม่มีข้อมูลการศึกษาทางพิษวิทยาข้อแนะนำ/ข้อควรระวังกำลังเสือโคร่ง เปลือกต้นที่นำมาใช้เป็นสมุนไพรนั้นควรเป็นเปลือกต้นที่มีอายุ 10 ปีขึ้นไปTags : สมุนไพรกำลังเสือโคร่ง